สร้างฟอร์มใน WordPress ด้วย Google Form ง่ายและฟรี

การสร้างฟอร์ม แม้แต่ใน WordPress ซึ่งเป็น Contents Management System (CMS) ที่มี Plugin เกี่ยวกับการสร้างฟอร์มมากมาย มาช่วยอำนวยความสะดวก แต่การตั้งค่าการใช้งานครั้งแรกๆ ก็ยังคงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้พอสมควร บาง Plugin ต้องมีพื้นฐานการเขียนโค้ดบ้าง หลายครั้งหลังตั้งค่าก็ยังเจอปัญหาแบบฟอร์มใช้งานไม่ได้ หรือหลังเปิดใช้งานแล้ว มีการกรอกฟอร์มเข้ามา การจะดูรายงานก็ยังดูยากอยู่ดี บางคนที่มีความจำเป็นต้องใช้ฟอร์มอย่างจริงจัง จึงแก้ปัญหาโดยการเลือกใช้ Plugin form แบบชำระเงิน

แต่วันนี้ Goodtells จะมาแชร์วิธีการ สร้างฟอร์มใน WordPress ด้วยโปรแกรมสร้างฟอร์มที่หลาย ๆ คน เคยผ่านการใช้งานมาแล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบว่า สามารถนำฟอร์มที่สร้างจาก Google Form ไปติดตั้งไว้ในเว็บไซต์ได้ ซึ่งจริง ๆ สามารถติดตั้งได้ฟรี ๆ และยิ่งเป็นการเพิ่มผ่าน WordPress ก็ยิ่งมีความง่ายขึ้นไปอีก

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

การใช้ Google Form สร้างฟอร์มลงใน WordPress ต่างจากการใช้ Plugin ใน WordPress อย่างไร?

หลายท่านอ่านมาถึงตรงนี้ อาจมีความสงสัยว่าในเมื่อ WordPress มี Plugin ในการสร้างฟอร์มดี ๆ มากมาย การนำฟอร์มจาก Google form มาลงใน WordPress มีความแตกต่างจากการใช้ Plugin อย่างไร

ข้อดีของการใช้ฟอร์มจาก Google form ลงใน WordPress

1.Google Form ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

อย่างที่รู้กันว่า Google Form ใช้งานได้ฟรี สำหรับ Plugin สร้างฟอร์มใน WordPress หลายตัวก็เริ่มใช้งานได้ฟรีแต่ถ้าต้องการออฟชัน เช่นแบบฟอร์มหน้าตาสวย ๆ หรือฟังก์ชัน เช่น Dashboard เพิ่มก็ต้องเสียเงิน

2.สร้างฟอร์มได้ง่าย แทบไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดเลย

อย่างที่เกริ่นไว้ในย่อหน้าแรก Plugin การสร้างฟอร์มส่วนใหญ่ใน WordPress ยังคงต้องตั้งค่าก่อนการใช้งานและบางตัว ผู้ใช้ยังต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดบ้าง แต่ถ้าหากใครที่เคยสร้าง Google form จะรู้เลยว่า ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ด ก็สามารถสร้างคำถามที่ต้องการคำตอบรูปแบบต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ

3.ไม่ได้ใช้พื้นที่ของ Host แต่ใช้พื้นที่ของ Google Drive แทน

บางคนที่สร้าง WordPress อาจสมัครบริการ Host ที่มีพื้นที่ไม่มาก การใช้ Plugin สร้างฟอร์มก็จะใช้พื้นที่ใน Host ร่วมกับพื้นที่เว็บไซต์ แต่ถ้าใช้ Google Form ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บใน Google Drive ของบัญชีที่สร้างทำให้ไม่ต้องเปลืองพื้นที่ของ Host

4.สามารถดูสรุปรายงานใน Google form ได้โดยไม่ต้องสร้าง Dashboard เอง

ใน Google Form จะมีส่วนของการดูรายงานแบบ Dashboard สรุปผลให้ ไม่ต้องสร้างเอง เรียกว่าติดตั้งก็ง่ายใช้งานก็สะดวก

5.สามารถดูรายงานใน Google Sheet ได้แบบแทบจะ Real time

Google Form สามารถส่งข้อมูลไปที่ Google Sheet ใน Google Drive ของผู้สร้างได้ ในกรณีที่ใช้งานฟอร์มแบบที่ต้องการดูข้อมูลแบบเร่งด่วน เช่น การทำฟอร์มสั่งคำสั่งซื้อของร้านที่มีผู้ติดตามเยอะ ๆ หรือมีคำสั่งซื้อพร้อม ๆ กันเยอะ ๆ (ลูกค้าของแอดเคยมีคนสั่งออเดอร์มากกว่า 600 คำสั่งซื้อใน 1 นาที) การดูข้อมูลได้แบบเกือบ Real time ทำให้สามารถควบคุมการทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

6.เชื่อมต่อ Google Sheet กับ Looker studio เพื่อทำ Dashboard ได้ฟรี

สำหรับสาย Data analytic ที่ต้องการดูข้อมูลแบบ Dashboard เนื่องจาก Google Form สามารถส่งข้อมูลไปยัง Google Sheet ได้ เราจึงสามารถเชื่อม Google Sheet กับ Looker studio อีกหนึ่งเครื่องมือฟรีของ Google ที่สามารถสร้าง Dashboard ได้และที่สำคัญ เราสามารถเอาหน้า Dashboard มาติดตั้งที่ WordPress ได้เหมือน Google Form เลย ทำอย่างไรเดี๋ยวบทความต่อ ๆ ไป แอดจะเอามาแชร์ให้นะครับ

7.ผู้ใช้มีความเชื่อมั่นกับระบบของ Google form

ใครที่เคยใช้ Plugin Form หรือเคยเขียนโปรแกรมฟอร์มขึ้นมาใช้งาน อาจจะเคยเจอปัญหา ลูกค้าไม่แน่ใจ Plugin Form ที่ใช้ บางครั้งลูกค้าก็ต้องการปรับเองแต่ไม่ถนัด แต่เมื่อแจ้งว่าเป็น Google Form ลูกค้าก็กังวลน้อยลง เพราะมั่นใจในตัวระบบและมีเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่สามารถแก้ไขได้หากต้องการเปลี่ยนแปลง

8.สามารถเปิดให้ผู้กรอกฟอร์มแก้ไขคำตอบได้

ในบางครั้ง ข้อมูลที่เราให้กรอกในฟอร์มเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ซีเรียสหากถูกแก้ไข เราสามารถตั้งค่า Google Form ให้ผู้กรอกสามารถกลับมาแก้ไขคำตอบได้ แต่ต้องเป็นฟอร์มแบบให้กรอก Email นะ

9.มีการส่งคำตอบให้ทั้งผู้กรอกและเจ้าของ(หากเปิดไว้)

Google Form ก็สามารถตั้งค่าให้ตอบกลับผู้กรอกได้เพียงตั้งค่าแบบรวบรวมอีเมล และตั้งค่า>ส่งสำเนาคำตอบให้ผู้ตอบ>ทุกครั้ง

10.ไม่ต้องดูแลระบบของฟอร์ม

Plugin บางครั้งหลังมีการอัพเดทระบบบางอย่าง เช่น อัพเดท เวอร์ชั่น PHP อาจกระทบกับระบบฟอร์ม หากไม่มีผู้ดูแลอาจทำให้ฟอร์มไม่สามารถใช้งานได้ แต่ที่น่ากลัวกว่าการใช้งานไม่ได้ คือเมื่อลูกค้ามากรอกฟอร์มแต่ระบบไม่บันทึกหรือแจ้งไปที่ Email ทำให้อาจเสียโอกาสในการขายได้

11.Google Form มีส่วนเสริมที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฟอร์มได้อีกมากมาย

เช่น ส่วนเสริมการตั้งเวลาเปิดปิดฟอร์ม อัตโนมัติ หรือปิดการใช้งานฟอร์มเมื่อมีผู้ตอบครบกำหนดหรือตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เป็นต้น

12.ลด Spam ได้โดยการตั้งค่าให้ 1 Email สามารถตอบได้ครั้งเดียว

Google Form สามารถตั้งค่าให้ผู้ตอบสามารถตอบได้ครั้งเดียว โดยการตรวจสอบจาก Email ที่ใช้ ซึ่งช่วยลด Spam ที่ส่งมาโดย Email ซ้ำ ๆ ได้ เดี๋ยวบทควาต่อ ๆ ไป แอดมินจะมาเขียนเพิ่มให้นะ

ข้อด้วยของการใช้ฟอร์มจาก Google form ลงใน WordPress

1.หน้าตาของฟอร์มแก้ไขไม่ได้เยอะ

Google form สามารถตกแต่งได้เล็กน้อย ถ้าเทียบกับการเขียนฟอร์มหรือใช้ Plugin ของ WordPress ที่มีให้เลือกมากมาย

2.ต้องไปดูรายงานจาก Google form หรือ Google sheet ไม่สามารถดูผ่านหลังบ้าน WordPress ได้ทันที

Plugin ของ WordPress หลายตัวใช้การเก็บข้อมูลที่ Host ของเว็บไซต์และมีการช่องทางสำหรับให้เจ้าของเว็บไซต์สามาถดูข้อมูลได้จากหลังบ้านของ WordPress ไม่ต้องเข้าไปดูทางช่องทางอื่น

3.ฐานข้อมูลจากฟอร์มไม่ได้อยู่ใน Host

สำหรับคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูลเวลาจะนำข้อมูลมาต่อยอด ไม่สามารถดึงจาก Host มาใช้งานได้ทันที หรือบางครั้งต้องการดูข้อมูลที่เก็บไว้ แต่ผู้ดูแลมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้การหาข้อมูลต้องใช้เวลาสืบหา

4.Dashboard ในหลังบ้าน WordPress ต้องสร้างเอง

ถ้าใช้ Plugin แบบเสียเงิน มี Dashboard ให้ใช้ที่หลังบ้านของเว็บไซต์เลย ไม่ต้องสร้าง Dashboard เอง ถึง Google Form จะมีหน้าการตอบกลับที่แสดงเป็นแผนภูมิ แต่บางครั้งหากต้องการดูมิติข้อมูลที่แตกต่างจากที่มี ก็ต้องมีการนำข้อมูลที่ได้ไปสร้าง Dashboard โดยโปรแกรมอื่น ๆ อีกที

ใครที่เหมาะกับการใช้ Google form ในการสร้างฟอร์มใน WordPress

1.คนที่ใช้ Google form หรือต้องการใช้ Google form ในการสร้างฟอร์ม
2.คนที่ต้องการใช้ฟอร์มในเว็บไซต์ WordPress แต่ไม่รู้หรือไม่ถนัดในการตั้งค่า
3.คนที่ต้องการนำข้อมูลจากฟอร์มไปใช้งานต่อใน Google sheet แบบ Real time

ขั้นตอนการสร้าง Google Form

เปิด Google Chrome

1.เปิด Google Chrome

ลงชื่อเข้าใช้ Google Account หรือ Gmail

2.เลือก Gmail และเลือกเมนู ลงชื่อเข้าใข้

ยืนยันตัวตน

3.สำหรับท่านใดที่ตั้งค่าการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน ก็ยืนยันตัวตนก่อนนะ ขั้นตอนนี้อาจจะดูยุ่งยาก แต่ถ้าใครที่ทำงานด้านนี้ แนะนำเปิดไว้เถอะ เพื่อความปลอดภัย

เลือก Google Form

4.เลือกที่เมนูตรงหมายเลข 1 เพื่อเลือกโปรแกรมที่จะใช้ จากนั้นเลือกที่หมายเลข 2 ฟอร์ม

เลือก แบบฟอร์มเปล่า

5.เลือก แบบฟอร์มเปล่า หรือบางท่านจะลองเลือก ข้อมูลติดต่อ มาลองเลยก็ได้

เปลี่ยนชื่อฟอร์ม

6.เปลี่ยนชื่อฟอร์ม ตรงนี้ใช้สำหรับสื่อสารลูกค้า และสำหรับเวลาเราจะค้นหาข้อมูล เปลี่ยนแล้วเมื่อกดที่ชื่อมุมซ้ายบน ชื่อฟอร์มก็จะเปลียนให้ตามชื่อที่เราเปลี่ยนอัตโนมัติ

7.เมื่อเราเปิดฟอร์มเปล่าขึ้นมาส่วน อีเมล* ด้านล่างบรรทัด คำอธิบายแบบฟอร์ม ตรงนี้สำคัญ การมีส่วนนี้ นั่นหมายถึงฟอร์มนี้เป็นฟอร์มแบบที่มีการเก็บอีเมลด้วย ซึ่งตรงนี้มองในมุมคนกรอก บางคนอาจไม่ชอบด้วยมีขั้นตอนเพิ่มหรือบางคนไม่อยากเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ ทำให้ไม่ยอมกรอกฟอร์ม แต่จากประสบการณ์ของแอดมิน ถ้าสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงหรือเป็นสินค้าเฉพาะ การให้กรอกอีเมลด้วยเป็นการช่วยคัดกรองลูกค้าได้ส่วนหนึ่ง เพราะคนที่สนใจจริง ๆ ก็จะยอมให้ข้อมูลส่วนนี้อยุ่แล้ว และการได้ข้อมูลมาก่อนบางครั้งอีเมลก็บ่งบอกองค์กรของผู้มาติดต่อ ทำให้เราสามารถทำการบ้านก่อนติดต่อลูกค้าได้ด้วย

ช่องคำถามกรอกชื่อผู้ที่ให้ติดต่อกลับ

8.มาเริ่มที่ช่องให้กรอกช่องที่สอง (ช่องแรกเป็นให้กรอกอีกเมลไปแล้ว) ด้วยประเภทข้อมูลที่จะให้กรอกเป็น ชื่อ จึงเรื่องประเภทคำถามแบบ “คำตอบสั้นๆ” ที่มีช่องให้ตอบไม่ยาวมาก ตรงส่วนนี้หากต้องการเป็นทางการมาก ๆ ก็สามารถใช้เป็น ชื่อ-นามสกุล และเพิ่มคำอธิบายเพิ่มได้ และข้อมูลส่วนนี้แอดมินมองว่าสำคัญเพราะเวลาติดต่อกลับถ้าเราไม่รู้ชื่อผู้ติดต่ออาจทำให้การประสานงานมีปัญหา จึงเปิดที่ช่อง จำเป็น ไว้ซึ่งเมื่อเปิดที่ช่องนี้จะเป็นการบังคับให้มีการกรอกข้อมูลเท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถส่งฟอร์มได้ เป็นการป้องกันผู้กรอกข้อมูลลืมกรอกข้อมูลส่วนนี้ได้

ช่องกรอกเบอร์ติดต่อ

9.คำถามข้อต่อมาเป็น เบอร์ติดต่อ เช่นเคยเนื่องจากเป็นข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีเพียง 10 กว่าตัว จึงเลือกเป็นประเภท คำตอบสั้นๆ ในส่วนช่องจำเป็น อันนี้แล้วแต่ว่าแต่ละธุรกิจมีความจำเป็นมากน้อยหรือลูกค้าของธุรกิจนั้น ๆ มีความเป็นส่วนตัวสูงขนาดไหน บางธุรกิจที่ทาง Goodtells ได้ให้บริการ ก็มีที่ลูกค้ามีความเป็นส่วนตัวสูงมาก ดังนั้นหากลูกค้าส่วนมากของคุณเป็นกลุ่มนี้ การเปิดเป็นแบบบังคับตอบ ลูกค้าอาจเลือกที่จะไม่กรอกฟอร์มติดต่อไปเลย แต่ถ้าลูกค้าไม่ใช่กลุ่มดังกล่าว แอดมินก็แนะนำว่าช่องนี้เปิดแบบบังคับกรอกไปเลยจะทำให้เรามีช่องทางการติดต่อลูกค้ามากขึ้น อันนี้ลองปรับใช้กันดูนะครับ

หัวข้อที่ติดต่อ

10.คำถามข้อต่อมา เป็นหัวข้อที่ติดต่อ คำถามนี้อาจไม่ต้องมีก็ได้ก็ข้ามไปคำถามข้อถัดไปได้เลย แต่หากธุรกิจของคุณมีหลายส่วน การสร้างหัวข้อนี้ก็จะช่วยให้คนกระจาย Lead สามารถส่งต่อส่วนที่เกี่ยวข้องได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้หากองค์กรไหนมีการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์การกำหนดหัวข้อผู้ติดต่อ ก็สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยตัวอย่างนี้แอดมินจะใช้คำถามแบบ หลายตัวเลือกเพื่อให้ลูกค้าเลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เพื่อนำไปดูสถิติว่ามีลูกค้าสนใจบริการตัวใดเยอะที่สุด เป็นต้น

ช่องกรอกรายละเอียดการติดต่อ

11.บางคนอาจสงสัยว่ามีคำถามแบบ คำตอบสั้นๆ แล้ว ถ้าคำตอบยาว ๆ ต้องเลือกคำถามแบบใด ข้อนี้เลยครับ กับ รายละเอียดหรือรายละเอียดการติดต่อ เลือกคำถามแบบ ย่อหน้า คือตอบกันยาว ๆ ไปเลย ข้อนี้มีไว้ให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดความต้องการกันให้เต็มที่ไปเลย ซึ่งในตัวอย่างนี้ คำถามนี้จะเป็นส่วนสุดท้ายแล้ว บางคนคงคิดอ่านมาตั้งนานไม่บอกซักทีว่าจะเอาไปใช้ในหน้าเว็บไซต์ WordPress อย่างไร ตามมาเลย

ตัวเลือกแบบ Text สำหรับอธิบายเพิ่มเติม

การนำฟอร์มจาก Google Form มาใช้กับเว็บไซต์ ห้ามใช้ การแนบไฟล์ มิฉะนั้นเมื่อถึงขั้นตอนการนำ Code ไปติดตั้ง Google form จะไม่ยินยอมให้นำมาติดตั้งที่เว็บไซต์ หากต้องการให้ผู้ติดตามแนบไฟล์ ให้พิมพ์แจ้งไว้ในแบบฟอร์มเลยว่า กรุณาส่งไฟล์ไปที่อีเมล……

ขั้นตอนการนำฟอร์มจาก Google Form ไปติดตั้งในเว็บไซต์ WordPress

เลือกที่ปุ่ม ส่ง

1.เลือกที่ปุ่ม ส่ง ด้านขวาบน

2.
2.1 เลือกที่เมนู “<>”
2.2 ตั้งค่าขนาดความกว้างและความสูงที่ต้องการ ถ้ายังไม่แน่ใจขนาดที่ต้องการ ข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อน เดี๋ยวเราไปปรับค่าตอนแนบ Code ที่หน้าเว็บไซต์ก็ได้
2.3 กดคัดลอก Code ที่ช่องหมายเลข 3 เพื่อคัดลอก Code ในช่อง “ฝัง HTML”

ช่อง Login หลังบ้าน Wordpress

3.Login เข้าหลังบ้านของเว็บไซต์ ตัวอย่างถ้าเป็น WordPress ก็เข้าที่หน้านี้ ของใครไม่ใช่หน้านี้อย่าพึ่งตกใจมันเปลี่ยนกันได้

เข้าส่วน Page builder อันนี้ UX builder

4.เข้าที่ส่วน
4.1 Page(หน้า) หรือ Post(โพสต์)
4.2 เลือก Add New Page (เพิ่มหน้าใหม่) อันนี้แอดมินใช้วิธีเพิ่มหน้าใหม่สำหรับทดลองให้ดูนะครับ ถ้าจะเพิ่มในหน้าที่มีอยู่แล้ว ให้เลือกหน้าที่ต้องการเพิ่มแล้วกดแก้ไข
4.3 เลือกส่วนการจัดการหน้า อย่างตัวอย่างแอดมินใช้ UX builder ก็กดเลือกส่วนที่ 3

เลือก HTML

5.เลือกส่วนที่สามารถใส่ Code HTML เข้าไปได้ ซึ่ง Page builder แต่ละตัวก็อาจจะแตกต่างกัน อย่างตัวอย่างที่นำมาเป็น UX builder ให้เลือกที่ส่วนที่ 1 Add elements ก่อนว่าจะลง Code ในส่วนใด 2 เลือกที่เครื่องมือ HTML
บทความนี้ขอนำมาลง ให้สามารถลงแบบพื้นฐานได้ก่อนนะครับ ถ้าต้องการลงแบบที่มีการปรับแบบละเอียดได้ แอดมินกลัวว่าคนที่พึ่งทดลองอาจจะรู้สึกว่ามันซับซ้อนเกินไป

วาง Code iframe ลงในส่วน HTML
วาง Code iframe ลงในส่วน HTML

6.วาง Code ที่ Copy มาจากขั้นตอนที่ 1 ลงในส่วนที่ 1 อันนี้สำหรับ UX builder นะครับ

จะเห็นว่าหลังลง Code แล้ว หน้าของฟอร์มก็จะมาขึ้นที่ด้านขวาให้เราเห็น

ตั้งค่าขนาดของ iframe

7.หลังจากวาง Code ลงไปแล้ว ให้ลองดูนะครับว่าขนาดของฟอร์ม ได้อย่างที่ต้องการหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ ให้ลองดูในส่วนที่วงไว้นะครับ สามารถแก้ไขตัวเลขตามที่ต้องการได้เลย โดยส่วน wilde จะเป็นการกำหนดความกว้าง และ Height จะเป็นการกำหนดความสูง

เคล็ดลับ หากต้องการให้ฟอร์มที่สร้าง ปรับขนาดความกว้างตามขนาดหน้าจอ ให้ใส่ส่วน wilde เป็น “100%” ความกว้างของฟอร์มก็จะปรับเต็มพืนที่ตามขนาดหน้าจอที่ใช้เปิด

เช็คหลังปรับ wilde เป็น 100% หน้าจอมือถือ

8. หลังจากปรับขนาดของฟอร์มแล้ว อย่าลืมเช็คว่าให้ขนาดหน้าจออื่น ๆ ฟอร์มดูเป็นอย่างไรบ้าง ขนาดมีปัญหาหรือไม่ ถ้าเป็น UX builder ให้เลือกที่บริเวณหมายเลข 1 เพื่อเปลี่ยนดูเว็บไซต์ในขนาดหน้าจอ มือถือ แท็บเล็ต จอคอมพิวเตอร์

สำคัญ ต้องตรวจสอบหน้าเว็บไซต์และทดลองใช้งานฟอร์มในหน้าเว็บไซต์ก่อนใช้งานจริง เพราะบางครั้งเราอาจลืมตั้งค่าส่วนสำคัญ ทำให้เมื่อผู้ใช้(User) มาใช้งานฟอร์มอาจใช้งานไม่สะดวกหรือใช้งานไม่ได้เลย ทำให้อาจเสียโอกาสในการขายได้นะครับ

ใครที่เป็นสายสร้างเว็บไซต์ WordPress และชอบทดลองใช้เครื่องมือฟรี ๆ โดยเฉพาะของ Google อย่าลืมติดตามกันนะครับ เพราะแอดมินมีความรู้และเครื่องมือดี ๆ จากประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้า มาแบ่งปันกันอีกเยอะเลยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.